การเป็นนักปฏิวัติ ของ มารียา เวียตรอวา

ต่อมาเธอจึงเดินทางไปยังอาซอวเพื่อกลับไปประกอบอาชีพครู ที่นี่เธอได้เข้าร่วมกับกลุ่มนักสังคมนิยม และสนิทสนมกันก้บ อันตีป กือลากอว [ru] นารอดนิกจากตากันรอก เธอได้รับแรงบันดาลใจเป็นพิเศษจากบทความของเลโอ ทอลสตอยเรื่อง "ความสุขคืออะไร?" และเมื่อช่วงปีผ่านไป เธอยิ่งศึกษาเข้าถึงแนวคิดสังคมนิยมอย่างเข้มข้นมากขึ้น[1] ในปี 1894 เธอออกเดินทางจากอาซอวเพื่อไปศึกษาที่สถาบันเบสตูเจฟในมหาวิทยาลัยหลวงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก[2] แต่เธอกลับพบว่าอาจารย์และคาบสอนบรรยายต่าง ๆ ที่นั่นกลับไม่น่าสนใจและดูเบาปัญญา ในปีต่อมาเธอพบกับทอลสตอย ซึ่งให้แรงบันดาลใจเธอเป็นนักปฏิวัติ จากนั้นเธอจึงเริ่มไปสอนวิชาภาษารัสเซีย และ ชีวคณิต ประจำโรงเรียนภาควันอาทิตย์สำหรับแรงงานที่โรงงานรัฐออบูฮอว[1]

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 1897 ทางการของซาร์ทำการจับกุมหมู่ผู้ที่เชื่อว่ามีส่วนร่วมในการตีพิมพ์นารอดนิกในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เวียตรอวารู้จักคนจำนวนหนึ่งที่ถูกจับกุมในครั้งนี้[1] เมื่อวันที่ 2 มกราคม 1897 [ตามปฎิทินเก่า: 22 ธันวาคม 1896][3] เธอเองก็ถูกจับกุมฐานมีโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาลในครอบครอง และต้องสงสัยมรส่วนร่วมในแผนการตีพิมพ์เพื่อปฏิวัติ เธอถูกจับกุมที่ป้อมปราการปีเตอร์และปอล ที่ซึทงเธอจบชีวิตตัวเองด้วยการจุดไฟเผาตัวเองในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 8 กุมภาพันธ์] 1897 เธอเสียชีวิตจากบาดแผลไฟไหม้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 12 กุมภาพันธ์] 1897[2]

ใกล้เคียง

มารียา บูร์มากา มารียา เวียตรอวา มารียา เซเลนา นูร์จาฮียา มารียา ซัญกอแวตส์กา มารียาน มารียา ปรือมาแชนกอ มารียา กุตซารีดา-เกรอตูเนสกู มารีญา พูลเลิศลาภ มารีย์ (มารดาพระเยซู) มารีย์ชาวมักดาลา